วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 2 
1.ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ฮาร์ดแวร์ เป็นรูปธรรม เป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น ซีพียู เม้า คีบอร์ด เป็นต้น
         ซอฟแวร์  เป็นนามธรรม เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น โปรแกรม หรือ ชุดคำสั่ง    
    
2.หน่วยงานที่ชื่อ Sipaถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการซอฟต์แวร์ไท
ตอบ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Software               Industry Promotion Agency (Public Organization) เรียกชื่อย่อว่า SIPA เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2546 เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและ   พัฒนาผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ การพัฒนาด้านบุคลากร การตลาด การลงทุน กระบวนการผลิต การสนับสนุนการค้นคว้าวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี การส่งเสริมและพัฒนามาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์ ทั้งนี้ เพื่อให้ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ สอดรับนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นยุทธศาสตร์หลักในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย ภารกิจหลักของ SIPA เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ประกอบด้วยการกำหนดแผนงานและนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย ภายใต้แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ด้วยการส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรมพัฒนาทักษะให้เกิดความรู้และความเชี่ยวชาญ และส่งเสริมการจ้างงานในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ภารกิจด้านการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย ด้วยการสนับสนุนการค้นคว้าวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างแรงจูงใจในการลงทุนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยการเสนอแนะมาตรการทางด้านภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์ ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ส่วนราชการและเอกชน เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ นำซอฟต์แวร์ไทยไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพในทำงาน รวมทั้งภารกิจด้านการประสานงานกับต่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

3.นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ                                                                     ตอบ ผู้ใช้งานจะเป็นแหล่งข้อมูลของนักวิเคราะห์ระบบเพื่อพัฒนาระบบ ในขณะเดียวกันผู้วิเคราะห์ระบบก็จะออกแบบระบบเพื่อให้สะดวกและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานด้วย

4.ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
ตอบ มีหน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับในระบบหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ กลุ่มคนประเภทนี้ต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปํญหาเฉพาะหน้าเป็นอย่างดี

5. Softwear Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
ตอบ เป็นบุคคลในสายงานอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และตรวจสอบวอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น  อย่างมีแผนโดยอาศัยหลักการทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อนของซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาตรวจสอบว่า การเขียนโปรแกรมนั้นถูกต้องตามหลักหรือไม่ เป็นกลุ่มคนที่มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นอย่างดี สามารุเขียนโปรแกรมได้หลายๆภาษา บุคคลเหล่านี้สามารถผลิตซอฟต์แวร์ใหญ่ๆได้

6.การดูแลและบริหารระบบเครือข่ายเกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด                                                                                         ตอบ เกี่ยวข้องกับบุคคลในตำแหน่งที่เรียกว่า ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก มากที่สุด โดยจะต้องดูแลและบริหารระบบ  เครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น มีการติดตั้งของระบบเครือข่ายที่รัดกุมสร้างระบบป้องกันการบุกรุกของผู้ที่ไม่ประสงค์ดีได้เป็นอย่างดี

7.binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ. เป็นเลขฐานสองที่ประกอบตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้นคือ 0 กับ 1 ซึ่งโดยปกติข้อมูลที่จะนำมาใช้กับ
         คอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องมีการแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อนจึงสามารถ
         เอามาใช้งานในการประมวลผลเลขต่าง ๆ ได้ซึ่งโดยปกติจะเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอลซึ่งมี
         2 ลักษณะเท่านั้นคือ เปิด (1) ปิด (2)

8.กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. เริ่มจากข้อมูลตัวอักษรจะถูกป้อนเข้าไปยังระบบผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลเช่น คีย์บอร์ดจากนั้นสัญญาณ
         อิเล็กทรอนิกส์ของตัวอักษรดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังระบบการทำงาน ของคอมพิวเตอร์เพื่อแปลง
         ให้อยู่ในรูปรหัสมาตรฐานที่เข้าใจตรงกัน และนำเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อรอการประมวลผลและ
          แปลงกลับออกมาให้อยู่ในรูปแบบของภาพที่สามารถมองเห็นได้ผ่านจอภาพ

9. การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. สามารถนำเข้าข้อมูลได้ 2 วิธีด้วยกันคือ
               - ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device)
                    ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดสำหรับนำข้อมูลเข้าไปยังคอมพิวเตอร์โดยตรงผ่านอุปกรณ์
                    นำเข้าข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูลด้วยว่าเป็นแบบใดและสามารถใช้งาน
                    ร่วมกับอุปกรณ์ เหล่านั้นได้หรือไม่ ที่รู้จักกันดี เช่น คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ไมโครโฟนเป็นต้น
               - ใช้สื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage)
                     การนำเข้าด้วยวิธีนี้อาจดึงเอาข้อมูลที่มีการบันทึกหรือเก็บไว้ก่อนหน้านั้นแล้วจากสื่อบันทึก
                     อย่าง ใดอย่างหนึ่งมาใช้ได้ สื่อบันทึกข้อมูลแบบนี้เรียกว่า สื่อบันทึกข้อมูลสำรอง เช่น
                     ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ ซีดี  ดีวีดี แฟร์ตไดร์ เป็นต้น

10.พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับสมองและประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยว
ข้องอะไรบ้าง
ตอบ. CPU หรือ หน่วยประมวลผลกลางเปรียบเหมือนกับ"สมอง"ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการ
         ประมวลผลคำสั่งที่ได้รับมาว่าจะให้ทำอะไรบ้าง ประกอบด้วยหน่วยสำหรับการทำงานแบ่งออกเป็น
         ส่วน ๆ คือ
                 - หน่วยควบคุม ( Control Unit )
                 - หน่วยคำนวณตรรกะ ( Arithmetic Unit)
                 - ริจิสเตอร์ ( Register )

11.ROM  และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ. ถือว่าเป็นหน่วยความจำเหมือนกัน แต่ ROM เป็นหน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถ
         เขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ โดยปกติจะเป็นการเก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะ มีอยู่กับ
         เครื่องอย่างถาวรแม้ไฟจะดับก็ไม่สามารถทำให้คำสั่งต่างๆ หายไปได้ ส่วน RAM เป็นหน่วยความ
         จำอีกแบบหนึ่งแต่เมื่อไฟดับหรือปิดเครื่องข้อมูลต่างๆจะถูกลบเลือนหายไปหมด นิยมใช้สำหรับจด
         จำคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังอยู่เพียงเท่านั้น สามาเปลี่ยนแปลงแก้ไข้ได้ตลอดเวลา

12.machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. เป็นวงรอบหนึ่ง ๆ ในการทำงานของ CPU จะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลัก ๆ โดยการอ่านและ
         ดึงข้อมูลมาจากหน่วยความจำหลัก เพื่อเก็บข้อมูลเข้าสู้รีจิตเตอร์ในส่วนที่เก็บชุดคำสั่งและตำแหน่ง
         สำหรับประมวลผลจากนั้นจะมีการแปลความหมายของชุดคำสั่งว่าจะให้ทำอะไรบ้าง และนำไป
         ทำงานตามที่ได้รับนั้นและเก็บผลลัพธ์ที่ได้เพื่อให้ส่ววนอื่น ๆ เรียกต่อไป โดยจะมีการวนอ่านเพื่อ
         ประมวลผลแบบนี้วนช้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจบโปรแกรมหรือชุดคำสั่งมนการทำงานทั้งหมด

13.ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ. Exectution Time หรือเวลาปฎิบัติการ เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนในวงรอบการทำงานของ CPU
        ประกอบด้วยขั้นตอนของการปฎิบัติการ (Execute) และขั้นตอนการเก็บผลลัพธ์ (Store)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น