วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 2

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

1.       นิยามความหมายและยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management  Information Systems) หรือ MISหมายถึงระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหาร เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เช่น การบันทึกข้อมูล การจัดทำทะเบียนประวัติ
2.       ข้อมูลและระบบสารสนเทศมีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ  มีความต่างกัน ข้อมูล  หมายถึงข้อมูลดิบ (Raw Data)  ที่ถูกเก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยข้อมูลจะยังไม่มีความหมายในกานนำไปใช้งาน  หรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้
                สารสนเทศ หมายถึง ผลที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ โดยผลลัพธ์ที่ได้สามารถนำไปประกอบการทำงานหรือสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร
3.       สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
      ตอบ        1.) ถูกต้อง
2.) ทันเวลา
3.) สอดคล้องกับงาน
4.) สามารถตรวจสอบได้
      4.  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
                ตอบ 1.) เข้าถึงสารสนเทศ
                        2.) การกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติ
                        3.) ตรวจสอบผลการดำเนินงาน
                       4. )ศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
                       5. )การวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรค
                       6.) ลดค่าใช้จ่าย
     5. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
                ตอบ        1.) ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล
                                2.) ความปลอดภัยของข้อมูล
                                3.) ความยืดหยุ่น
                                4.) ความพอใจของผู้ใช้
    6.  บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
                ตอบ        มี ระดับ 1. )หัวหน้าระดับต้น (First-Line Supervisor หรือ Operation Manager)
                                                 2.) ผู้จัดการระดับกลาง (Middle Manager)
                 3.) ผู้บริหารระดับสูง(Executive หรือ Top Manager)
     7.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานระบบสารสนเทศและระดับของผู้บริหารในองค์การ


ลักษณะของระบบ
ระดับของผู้ใช้
ผู้จัดการระดับ
ปฏิบัติการ
ผู้จัดการระดับ
กลาง
ผู้จัดการระดับสูง
ที่มาของสารสนเทศ
-ภายใน
-ภายใน
-ทั้งภายในและภายนอก
-วัตถุประสงค์ของการใช้สารสนเทศ
-ปฏิบัติงาน
-ควบคุมผลปฏิบัติงาน
-วางแผน
-ความถี่ของการใช้สารสนเทศ
-สูง
-ปานกลาง
-ไม่แน่นอน
-ขอบเขตของสารสนเทศ
-แคบแต่ชัดเจน
-ค่อนข้างกว้าง
-กว้าง
-ความละเอียดของสารสนเทศ
มาก
-สรุปกว้าง ๆ
-สรุปชัดเจน
การรายงานเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นแล้ว
เกิดแล้ว/กำลังจะเกิด
อนาคต
ความถูกต้องของสารสนเทศ
สูง
ปานกลาง
ตามความเหมาะสม

               
8. ผู้บริหารสมควรมีบทบาทต่อการใช้งานสารสนเทศขององค์การอย่างไร
     ตอบ  1.) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ และความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์การ
                2.) เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัตน์
                3.) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
                4. )มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
                5.) บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ และสื่อสารโทรคมนาคม
                6.) การจัดและควบคุมผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง
                7. )ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงานแก่ผู้ใช้อื่น
                8. )เข้าใจประเด็นสำคัญด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
9. โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ส่วน อะไรบ้าง
     ตอบ โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งเป็น 3 ส่วน
1.)        หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design Unit)
2.)         หน่วยเขียนชุดคำสั่ง(Programming Unit)
3.)        หน่วยปฏิบัติการและบริการ(Operations and Services Unit)
10. บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
    ตอบ  บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็น ประเภท
1.)        หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ
2.)        นักวิเคราะห์และออกแบบ
3.)        ผู้เขียนชุดคำสั่ง
4.)        ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
5.)        ผู้จัดตารางเวลา
6.)        พนักงานจัดเก็บและรักษา
7.)        พนักงานจัดเตรียมข้อมูล
11. เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ
                ตอบ เพราะ การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สามารถทำให้เกิดการกระจายอำนาจในองค์การ การบุกรุกสิทธิส่วนบุคคลหรือคู่แข่งขัน เป็นต้น ดั้งนั้นผู้ที่เกี่ยวก็จะต้องตระหนักถึงบุคคลรอบข้างด้วยว่ามีผลกระทบต่อใครบ้าง
12. จงอธิบายตัวอย่างผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                 ตอบ ผลกระทบทางบวก
1.)        เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการ และการผลิต เช่น ติดต่อสื่อสารด้วยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2.)        เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
3.)        มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ในฐานข้อมูลความรู้
4.)        เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการหรือผู้ด้วยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย
5.)        พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่
6.)        การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
7.)        ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จาการบริโภคสินค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น
ผลกระทบทางลบ
1.)        ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม
2.)        ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก เช่น การมอมเมาเยาวชนในรูปของเกมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
3.)        ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม
4.)        การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง
5.)        การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
6.)        เกิดช่องว่างทางสังคม
7.)        เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี เช่น ด้านการศึกษา การสาธารณสุข เป็นต้น
8.)        อาชญากรรมบนเครือข่าย เช่น ปัญหาอาชญากรรม
9.)        ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น โรคคลั่งอินเทอร์เน็ต

แหล่งที่มา..http://wannee.blogspot.com/2011/06/2.html

แบบฝึกหัดบทที่ 1

                         แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1
1.จงอธิบายความหมายและส่วนประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงเทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลระบบที่สื่อสารโทรคมคม และอุปกรณ์สนับสนุน การปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผนจัดการ และใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
         องค์ประกอบสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ 3 ประการ
         1. ระบบประมวล
         2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
         3. การจัดการข้อมูล

2. เหตุใดการจัดการข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
    ตอบ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทสเป็นเทคโนโลยีทุกรูปแบบที่นำมาประยุกต์ในการประมวลผล โดยที่ระบบทางกายภาพประกอบด้วยคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร และระบบเครือข่าย ขณะที่ระบบนามธรรมเกี่ยวข้องข้อมูลกับการจัดรูปแบบของการมีปฏิสัมพันธ์ด้านสารสนเทศทั้งภายในและนอกระบบให้สามารถดำเนินการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

3. หน่วยประมวลผลกลาง CPU มีหน้าที่อะไร และสามารถเปรียบเทียบกันอวัยะส่วนใดขิงมนุษย์
ตอบ CPU จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและการประมวลผลของระบบคิมพิวเตอร์
         สามารถเปรียบเทียบ CPU กับสมองของมนุษย์

4. เราสามารถจำแนกคอมพิวเตอร์ออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
   ตอบ  จำแนกคอมพิวเตอร์ออกเป็น 4 ประเภท
             1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์( Supercomputer )
             2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ( Mainframe )
             3. มินิคอมพิวเตอร์(Minicomputer)
             4. ไมโครคอมพิวเตอร์  ( Microcomputer)หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Personal computer ) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า PC

5. เหตุใดจึงมีผู้กล่าวว่าคอมพิวเตอรเป็นเครื่องจักรกลที่เปลี่ยนแปลโลก และท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ เห็นด้วย เพราะคอมพิวเตอร์สามารถทำงานด้ายหลายอย่าง  รวดเร็ว และงานบางอย่างคอมพิวเตอร์สามารถทำแทนมนุษย์ได้

6. ชุดคำสั่งและภาษาคอมพิวเตอร์คืออะไร และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ ชุดคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer Program) คือ เป็นชุดคำสั่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและสั้งงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        ภาษาคอมพิวเตอร์(Computer Larguage) เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถทำงานราวมกันอย่างสะดวกราบรื่น
       โดยชุดคำสั่งถูกเขียนขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

7. ภาษายุคที่ 4 หรือ 4GL เป็นอย่างไร และมีความแตกต่างจากภาษาคอมพิวเตอร์ในอดีตอย่างไร
ตอบ เป็นภาษาระดับสูงที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น ฐานข้อมูล การประมวลเอกสาร และการจัดตาราง เป็นต้น โดยที่ 4GL จะง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ที่ลึกวึ้ง

8. จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของเทคโนโลยีสือสารโทรคมนาคมที่เป็นประโยชน์ต่องานสารสนเทศขององค์การ
ตอบ โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร เป็นต้น เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การส่างผ่านข่าวสารข้อมูลในระบบไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบที่ช่วยให้การสื่อสารข้อมูลมีความถูกต้อง ชัดเจน และรวดเร็นสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
แหล่งที่มา ..
http://wannee.blogspot.com/2011/06/1.html

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดครั้งที่ 3


ระบบย่อยของระบบสารสนเทศ:.


             กล่าวได้ว่าหน้าที่หลักของ MIS คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทั้งภายใน และภายนอกองค์การมาไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อทำการประมวลผลและจัดรูปแบบข้อมูลให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสม และจัดพิมพ์เป็นรายงานส่งต่อไปยังผู้ใช้ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจและบริหารงานของผู้บริหารมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ การทำงานต่าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระบบย่อย ดังต่อไปนี้
1. ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (Transaction Processing System)   หรือเรียกว่า TPS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การ โดยใช้เครื่องมือทางอีเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันขององค์การเป็นไปอย่างเรียบร้อยเป็นระบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การดำเนินงานในแต่ละวันมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็นจำนวนมาก เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และสามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ TPS ยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้อง
2. ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ (Management Report System)  หรือเรียกว่า MRS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบและจัดทำรายงาน หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร โดยที่ MRS จะจัดทำรายงานหรือเอกสาร และส่งต่อไปยังฝ่ายจัดการตามระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความต้องการของผู้บริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกจัดทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้วการทำงานของระบบจัดออกรายงาน สำหรับการจัดการจะถูกใช้สำหรับการวางแผน การตรวจสอบ และการควบคุมการจัดการ
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Supporting System) หรือที่เรียกว่า DSS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่จัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปรกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure) และไม่มีโครงสร้าง (Nonstructure) ซึ่งยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหา ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประการสำคัญของ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร แต่จะจัดหา และประมวลสารสนเทศ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นในการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร 
4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System)  หรือที่เรียกว่า OIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ โดย (OIS ) จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดผลสูงสุด หรือเราสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ระบบสารสนเทศสำนักงานมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานในองค์การเดี่ยวกัน และระหว่างองค์กร รวมทั้ง การติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอก
 ระบบบัญชี (The Function of Accounting)
           ระบบบัญชี หมายถึง ระบบการประมวลผลข้อมูลทางการบัญชี และเป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ ประโยชน์ในเชิงบริหาร
            ระบบบัญชีเป็นระบบที่รองรับรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการต่างๆ ทางธุรกิจ ซึ่งท่านสามารถกำหนดข้อมูลพื้นฐานทางบัญชีได้ตามโครงสร้างของบริษัทและผังบัญชีของบริษัท ซึ่งรายการทางบัญชีจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อมีการทำธุรกรรมต่างๆ ในแต่ละระบบงาน และระบบบัญชีจะรองรับการคำนวณสินค้าคงคลัง
 1. ระบบซื้อ (Purchase System)
-ดำเนินธุรกรรมในระบบซื้อ เช่น รายงานภาษีซื้อ, รับสินค้า / รับใบแจ้งหนี้, ใบลดหนี้ (ส่งคืนสินค้า)
-ระบบจะตรวจสอบเครดิตของลูกค้าให้อัตโนมัติเมื่อมีการทำธุรกรรมกับลูกค้ารายนั้นๆ
-ระบบจะคำนวณหาประมาณการวันที่ ที่จะครบกำหนดชำระเงินให้โดยอัตโนมัติเมื่อมีสั่งซื้อสินค้า
-มีระบบจดจำราคาสินค้าของแต่ละผู้ขาย
 2. ระบบขาย (Sale System)
- ดำเนินธุรกรรมในระบบขาย เช่น รายงานภาษีขาย, ทำการออกใบกำกับภาษี/สำเนาบิลส่งสินค้า/ใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน, ใบลดหนี้, ใบสั่งของชั่วคราว
-ระบบจะตรวจสอบเครดิตของลูกค้าให้อัตโนมัติเมื่อมีการทำธุรกรรมกับลูกค้ารายนั้นๆ
-ระบบจะคำนวณหาประมาณการวันที่ ที่จะครบกำหนดชำระเงินให้โดยอัตโนมัติเมื่อมีสั่งซื้อสินค้า
- มีระบบจดจำราคารวมสินค้าของแต่ละลูกค้า
-กำหนดอัตราภาษีได้เอง
- กำหนดราคาขาย ตาม จำนวนสินค้าที่ขายในบิลนั้นๆได้
 3. ระบบลูกหนี้ (Account Receivable System)
            สามารถตรวจสอบดูความเคลื่อนไหว และสถานะของเอกสารสำคัญในระบบลูกหนี้ได้เช่น Invoice ขาย ใบลดหนี้ สามารถเก็บข้อมูลรายละเอียดเช็คของลูกค้าแต่ละคนเพื่อใช้ในครั้งต่อไปได้ รับชำระได้ทั้งเงินสด , เช็ค
 4. ระบบเจ้าหนี้ (Account Payable System)
            สามารถตรวจสอบดูความเคลื่อนไหว และสถานะของเอกสารสำคัญในระบบเจ้าหนี้ได้เช่น Invoice ซื้อ ใบลดหนี้ สามารถเก็บข้อมูลรายละเอียดเช็คของเจ้าหนี้แต่ละคนเพื่อใช้ในครั้งต่อไปได้ รับชำระได้ทั้งเงินสด , เช็ค
 5. ระบบสินค้าคงคลัง (Inventory System)
            สามารถค้นหาข้อมูลตามรหัสสินค้า หรือชื่อสินค้า และมี Look up ในกรณีที่จำรหัสไม่ได้ กำหนด ราคาขาย ได้ไม่จำกัด หรือใช้ ราคาล่าสุด ก็ได้
                                            
   การจัดซื้อ  (Purchasing)
                 ในการผลิตสินค้าขององค์การอุตสาหกรรมหนึ่ง ๆ  จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีวัตถุดิบหรือพัสดุต่าง ๆ  อย่างเพียงพอไม่น้อยเกินไปหรือมากเกินไป  เพราะถ้าหากมีวัตถุดิบน้อยเกินไปอาจทำให้วัตถุดิบขาดมือ  และถ้าหากมีวัตถุดิบมากเกินไป  จะทำให้มีค่าจ่ายสูงเกินความจำเป็น  และจะส่งผลต่อราคาสินค้าต่อหน่วยที่จะมีราคาสูงตามด้วย  ในทางการบริหารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้วัตถุดิบมีเพียงพอต่อการผลิต การจัดซื้อและการบริหารเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง  จึงเป็นงานหลักอย่างหนึ่งในการประกอบ
              การจัดซื้อ  (Purchasing)  หมายถึง  การดำเนินงานตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบ  วัสดุ  และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นโดยมีคุณสมบัติ  ปริมาณ  ราคา  ช่วงเวลา  แหล่งขาย  และการนำส่ง    สถานที่ถูกต้อง  (ปราณี  ตันประยูร, 2537 : 137)
                  วัตถุประสงค์ของการจัดซื้อ  (Objective  of  Purchasing)
    1.  เพื่อให้มีวัตถุดิบและวัสดุอื่น ๆ ในการผลิตอย่างเพียงพอ
    2.  เพื่อรักษาคุณสมบัติของวัตถุดิบที่จัดซื้อให้ได้มาตรฐานเดียวกัน
    3.  เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียหาย และความล้าสมัยวัตถุดิบ
    4.  เพื่อให้กิจการมีกำไร  มีต้นทุนในการจัดซื้อต่ำวัตถุดิบที่ใช้เพียงพอ
    5.  หลีกเลี่ยงปัญหาพัสดุซ้ำกัน
                                      ระบบการผลิต

          การผลิตเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาจากการใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ การดำเนินการผลิตจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของการกระทำก่อนหลัง กล่าวคือ จากวัตถุดิบที่มีอยู่จะถูกแปลงสภาพให้เป็นผลผลิตที่อยู่ในรูปตามต้องการ เพื่อให้การผลิตบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดการให้อยู่ในรูปของระบบการผลิต ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ปัจจัยการผลิต (input) กระบวนการแปลงสภาพ (conversion process) และผลผลิต (output) ที่อาจเป็นสินค้า และบริการ  
        การผลิตที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านปริมาณ คุณภาพ เวลา และราคา ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องนำมารวมไว้ในระบบการผลิต โดยมีการวางแผนและควบคุมการผลิตเป็นแกนกลาง กิจกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบการผลิตนั้นสามารถจำแนกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ การวางแผน (planning) การดำเนินงาน (operation) และการควบคุม (control)
          1. การวางแผน เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ และวางแผนการใช้ทรัพยากรให้ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในแผนการผลิตจะกำหนดเป้าหมายย่อยไว้ในแผนกต่าง ๆ ในเทอมของเวลาที่กำหนดไว้ก่อนล่วงหน้า และจากเป้าหมายย่อย ๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นเหล่านี้ ถ้าประสบผลสำเร็จก็จะส่งผลไปยังเป้าหมายที่ต้องการ
          2. การดำเนินงาน เป็นขั้นตอนของการดำเนินการ จะเริ่มต้นได้ก็ต่อเมื่อรายละเอียดต่าง ๆ ในขั้นตอนการวางแผนได้ถูกกำหนดไว้ในแผนการผลิตเรียบร้อยแล้ว
          3. การควบคุม เป็นขั้นตอนของการตรวจตราให้คำแนะนำและติดตามผลเกี่ยวกับการดำเนินงาน โดยใช้การป้อนกลับของข้อมูล (feed back information) ในทุก ๆ ขณะที่งานก้าวหน้าไป ผ่านกลไกการควบคุม (control mechanism) โดยที่กลไกนี้จะทำหน้าที่ปรับปรุงแผนงาน และเป้าหมายเพื่อให้เป็นที่เชื่อแน่ได้ว่าจะบรรลุเป้าหมายหลัก

ระบบการผลิตและการปฏิบัติการ
          ระบบการผลิตและการปฏิบัติการ ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ  5 ส่วน ซึ่งได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการผลิตและแปลงสภาพ (production or conversion process) ผลได้ (output) ส่วนป้อนกลับ (feedback) และผลกระทบจากภายนอกที่เปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้คาดหมาย  (random  fluctuations)

          ปัจจัยนำเข้า คือส่วนของทรัพยากรหรือสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ ซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วย เงินทุน แรงงาน เครื่องจักร ที่ดิน วัตถุดิบ และความรู้ความสามารถในด้านการจัดการกระบวนการผลิตและแปลงสภาพ คือส่วนที่ทำหน้าที่นำเอาปัจจัยนำเข้ามาผลิต และแปลงสภาพเพื่อให้ได้เป็นสินค้าหรือบริการตามที่ต้องการ กระบวนการผลิตหรือแปลงสภาพประกอบด้วย วิธีการในการผลิตสินค้า วิธีการจัดลำดับการผลิต การวางแผนการผลิต การจัดสรรกำลังคนเพื่อการผลิต และอื่น ๆ ส่วนป้อนกลับ คือส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของกระบวนการ เพื่อให้การทำงานของระบบการผลิตบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่วนป้อนกลับนี้จะทำหน้าที่ประเมินผลได้ เช่น ปริมาณและคุณภาพของสินค้าที่ผลิตได้ นำมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่วางแผนไว้ จากผลการเปรียบเทียบจะนำไปสู่การปรับปัจจัยนำเข้าหรือกระบวนการผลิตหรือแปลงสภาพ  เพื่อสร้างผลได้ตามที่ต้องการออกมา

          การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดหมาย ระบบการผลิตและการปฏิบัติการใด ๆ เมื่อดำเนินการอยู่อาจมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดหมายแต่มีผลกระทบต่อการดำเนินการ โดยทั่วไปการเปลี่ยนแปลงนี้จะมาจากภายนอกระบบหรือนอกองค์การ และอยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมของผู้บริหาร ตัวอย่างเช่น สภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ อุบัติเหตุและภัยธรรมชาติ การขัดข้องเสียหายของเครื่องจักร เหล่านี้เป็นต้น


ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ(Transaction Processing Systems -TPS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่ เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของ  TPS
1.   มุ่งจัดหาสารสนเทศทั้งหมดที่หน่วยงานต้องการตามนโยบายของหน่วยงานหรือตามกฎหมาย เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
2.  
 เพื่อเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานประจำให้มีความรวดเร็ว 
3.  
 เพื่อเป็นหลักประกันว่าข้อมูลและสารสนเทศของหน่วยงานมีความ ถูกต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและรักษาความลับได้ 
4.
 เพื่อเป็นสารสนเทศที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการตัดสินใจอื่น เช่น MRS หรือ DSS
หน้าที่ของ TPS 
1. การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2.
 การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
3.
 การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
4.
 การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
5.
 การเก็บ (Storage)  การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป

ลักษณะสำคัญของระบบสารสนเทศแบบ TPS
  • มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก
  • แหล่ง ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากภายในและผลที่ได้เพื่อตอบสนองต่อผู้ใช้ภายในองค์การเป็น หลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันหุ้นส่วนทางการค้าอาจจะมีส่วนใน การป้อนข้อมูลและอนุญาตให้หน่วยงานที่เป็นหุ้นส่วนใช้ผลที่ได้จาก TPS โดยตรง
  • กระบวนการประมวลผลข้อมูลมีการดำเนินการเป็นประจำ เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกสองสัปดาห์
  • มีความสามารถในการเก็บฐานข้อมูลจำนวนมาก
  • มีการประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
  • TPS จะคอยติดตามและรวบรวมข้อมูลภายหลังที่ผลิตข้อมูลออกมาแล้ว
  • ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปและที่ผลิตออกมามีลักษณะมีโครงสร้างที่ชัดเจน (structured data)
  • ความซับซ้อนในการคิดคำนวณมีน้อย
  • มีความแม่นยำค่อนข้างสูง การรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญเกี่ยวข้องโดยตรงกับ TPS
  • ต้องมีการประมวลผลที่มีความน่าเชื่อถือสูง

 แหล่งที่มา...http://thitikorn2009.exteen.com/20090814/tps